ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2563
กำหนดการเปิดรับสมัครทุน
กำหนดการ | กิจกรรม |
ประชาสัมพันธ์ทุนและเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ (สมัครโดยส่งแบบ Ci: Concept idea ผ่าน www.adicet.cmru.ac.th/SID) | บัดนี้ – 30 พฤษภาคม 2563 |
ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ | 7 มิถุนายน 2563 |
ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผ่านระบบ VDO Conference / Zoom program ในหัวข้อ ความเป็นผู้ประกอบการและแนวทางในการจัดทำข้อเสนอโครงการ (Full paper) เพื่อขอรับทุน | 14 มิถุนายน 2563 |
ผู้เข้าร่วมโครงการจัดส่งข้อเสนอโครงการ (Full paper) (โดยส่งแบบ Fp: Full paper ผ่าน www.adicet.cmru.ac.th/SID) | 14 – 30 มิถุนายน 2563 |
คณะกรรมการพิจารณาและคัดเลือกโครงการที่ได้รับทุน | 1 – 7 กรกฎาคม 2563 |
ประกาศผลการสนับสนุน “ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม” | 7 กรกฎาคม 2563 |
การจัดทำสัญญารับทุน | 8 – 15 กรกฎาคม 2563 |
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของประเทศและ COVID-19
ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม
ลักษณะทุน: ทุนสำหรับผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน สำหรับพัฒนาผลงานนวัตกรรม1 เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากิจการของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งมีการร่วมสมทบทุนของผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการที่ได้รับทุน โดยมีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) ที่เป็นอาจารย์ นักวิชาการให้คำปรึกษา เพื่อลดอัตราความล้มเหลวในการจัดตั้งธุรกิจ
คุณสมบัติผู้ขอรับทุน: เป็นผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน/กิจการเพื่อสังคมที่เป็นนิติบุคคล และมีตำแหน่งในโครงการที่ขอรับทุนเป็น “หัวหน้าโครงการ” ที่ต้องการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม1 เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนากิจการธุรกิจของตนเองและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมีพี่เลี้ยง(Mentor) ตำแหน่งในโครงการเป็น “ที่ปรึกษา” ให้คำแนะนำในโครงการไม่น้อยกว่า 1 คน ทั้งนี้หากสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
ระยะเวลาดำเนินงาน: ผู้ที่ได้รับทุนต้องดำเนินงานโครงการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 4 เดือน หลังลงนามสัญญาตั้งแต่ 15 กรกฎาคม – 15 พฤศจิกายน 2563
งบประมาณ: สนับสนุนทุนละไม่เกิน 300,000 บาท (สามแสนบาท)2 ซึ่งโครงการที่ได้รับทุนสามารถตั้งงบประมาณในส่วนของค่าตอบแทนพี่เลี้ยง3 (ที่ปรึกษาโครงการ) ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก SID-N1
โดยหน่วย SID-N1 มีงบประมาณรวมจำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) โดยจำนวนทุนที่สนับสนุนขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละโครงการเสนอขอรับทุน |
การเบิกจ่าย: งบประมาณโครงการแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ได้แก่
งวดที่ 1 จำนวน 30 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 90,000 บาท/โครงการซึ่งโครงการที่ได้รับทุนจะได้รับก็ต่อเมื่อลงนามในสัญญารับทุนแล้ว ภายใน 15 วัน
งวดที่ 2 จำนวน 50 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 150,000 บาท/โครงการ ซึ่งโครงการที่ได้รับทุนจะได้รับก็ต่อเมื่อส่งรายงานความก้าวหน้าและคณะกรรมการตรวจรับรายงานแล้ว
งวดที่ 3 จำนวน 20 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 60,000 บาท/โครงการ เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนครบถ้วน และส่งรายงานผลการดำเนินงานโครงการ หลักฐานการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม และคณะกรรมการตรวจรับรายงานแล้ว
เงื่อนไขการรับทุน :
- ผู้รับทุนต้องสร้างหรือพัฒนาผลงานนวัตกรรม1เพื่อสังคมในพื้นที่จำนวนอย่างน้อย 1 นวัตกรรม
- ผู้รับทุนควรให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา หรือกิจกรรมอื่นใดที่ทางผู้ให้ทุน SID-N1 จัดขึ้น
- ผู้รับทุนต้องปิดโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ตามสัญญารับทุน) ประกอบด้วย รายงานผลการดำเนินงานโครงการ และหลักฐานการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม อาทิเช่น VTR/VDO อธิบายผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากโครงการที่ได้รับทุน หรือภาพถ่ายต่างๆ เป็นต้น
การประเมินข้อเสนอโครงการ
การประเมินข้อเสนอโครงการเพื่อจัดสรรทุน เป็นการศึกษารายละเอียดของข้อเสนอโครงการ รูปแบบลักษณะของกิจการ/ธุรกิจ เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ใช้ในโครงการ รวมถึงประวัติการทำงาน ผลงานของหัวหน้าโครงการ เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ทั้งในด้านวิชาการ และผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมพิจารณาและมีหลักเกณฑ์การสนับสนุนและแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการ เงื่อนไขการสนับสนุนตามแนวทางโครงการ “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 ใน 6 ประเด็นหลัก ดังนี้
ประเด็นหลัก | คำอธิบาย | หลักเกณฑ์/เงื่อนไข การสนับสนุน |
1.พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ | ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมเข้าไปขับเคลื่อนในชุมชน + ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าหรือมูลค่า(ขายได้ในตลาดที่สูงขึ้น มีราคาสูงขึ้น) | – สนับสนุนค่าวัสดุจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์ – ค่าวิเคราะห์ทดสอบ ค่าทดสอบตลาด – ค่าถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ – มีการกำหนดตลาดและวางแผนการผลิตที่ชัดเจน |
2. พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ | – มี marketing research หรือได้มาตรฐานแล้ว – ระบุผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจน – มีบรรจุภัณฑ์หรือฉลากเดิม ต้องให้เหตุผลในการขอรับการพัฒนา – ควรมีประเด็นทางด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมเข้าไปช่วยด้วย | – ไม่ให้เครื่องจักรทำบรรจุภัณฑ์/เครื่องบรรจุ เครื่องปิดผนึก – สนับสนุนค่าคำปรึกษา ให้ความรู้ความเช้าใจในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ค่าออกแบบและต้นแบบ ต้องมีรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด ค่าออกแบบไม่เกิน 3 รูปแบบ และผู้ประกอบการเลือก 1 รูปแบบเพื่อนำไปผลิตต่อ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดทำตามต้นแบบที่เลือก จำนวนไม่เกิน 50 – 100 ชิ้น |
3.พัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิต | แสดงกระบวนการผลิตเดิม (Flow Chart) วินิจฉัยจุดที่มีปัญหาและนำเสนอแนวทางนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา | ให้การสนับสนุนในเรื่อง – การให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ การฝึกอบรม – การวิเคราะห์ ทดสอบ – วัสดุเพื่อการปรับปรุงบางส่วน |
4.มาตรฐาน (พัฒนาสินค้าเข้าสู่มาตรฐานโดยที่สินค้าชนิดนั้นๆไม่เคยมีผู้ขอมาตรฐานได้มาก่อน – นวัตกรรม) | ระบุผลิตภัณฑ์และมาตรฐานที่ต้องการพัฒนาให้ชัดเจน อาทิ primary GMP อย./มผช./ฮาลาล การยกระดับดาว ให้ข้อมูลศักยภาพและความพร้อมเดิม | ให้การสนับสนุนได้ในเรื่อง – ความรู้ ค่าที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ การฝึกอบรม ค่าการวิเคราะห์ ทดสอบ – ไม่ให้การสนับสนุน ค่าปรับปรุงโรงเรือน / ภาชนะ/เครื่องจักร/ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอฯ |
5.พัฒนานวัตกรรมคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ | พัฒนาวัตถุดิบที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือแปรรูป เช่น การย้อมเส้นไหม ฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ความปลอดภัย ลดสารพิษ ยาฆ่าแมลง เช่น เครื่องล้าง การทดสอบวัตถุดิบ เป็นต้น เป็นวัตถุดิบที่สามารถระบุแหล่งผลิตได้ | – ไม่สนับสนุนการพัฒนา primary agriculture เช่น การปลูกมะม่วงรสชาติอร่อย – สนับสนุนในเรื่องการให้คำปรึกษา การให้ความรู้ – ค่าวิเคราะห์ ทดสอบ |
6. พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบจาก COVID-19 | อนึ่ง ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากไวรัส COVID-19 ทำให้หลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญร่วมกันให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอโครงการของ SID-N1 จะขอพิจารณาข้อเสนอโครงการที่มีส่วนช่วยเหลือสังคมในการ “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มประชากรที่เปราะบาง เช่น กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ เป็นลำดับแรก | หลักเกณฑ์/เงื่อนไข การสนับสนุนตามประเด็นหลักของข้อ 1- 5 |
หมายเหตุ: ในกรอบ 6 ประเด็นหลักนี้เป็นหลักเกณฑ์การสนับสนุนและแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการเท่านั้น ซึ่งผู้ขอรับทุนสามารถยื่นเสนอข้อเสนอโครงการนอกเหนือจาก 6 ประเด็นนี้ได้ ทั้งนี้คณะกรรมการจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญต่อไป
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม:
นายสกลวัฒน์ เศวตรัตนกุล
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1
ที่ตั้ง: วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่: 180 หมู่ที่ 7 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ 091-0691189 มือถือ 081-3867733
Facebook: facebook.com/SIDCMRU (SID-CMRUหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม)
Website: www.adicet.cmru.ac.th/SID
Line: @SIDCMRU