SID-CMRU SOCIAL INNOVATION

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ

เปิดอ่าน 1,617 views

ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2563

กำหนดการเปิดรับสมัครทุน

กำหนดการกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ทุนและเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ (สมัครโดยส่งแบบ Ci: Concept idea ผ่าน www.adicet.cmru.ac.th/SID)บัดนี้ – 30 พฤษภาคม 2563
ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ7  มิถุนายน 2563
ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผ่านระบบ VDO Conference / Zoom program ในหัวข้อ ความเป็นผู้ประกอบการและแนวทางในการจัดทำข้อเสนอโครงการ (Full paper) เพื่อขอรับทุน14 มิถุนายน 2563
ผู้เข้าร่วมโครงการจัดส่งข้อเสนอโครงการ (Full paper) (โดยส่งแบบ Fp: Full paper ผ่าน www.adicet.cmru.ac.th/SID)14 – 30 มิถุนายน 2563
คณะกรรมการพิจารณาและคัดเลือกโครงการที่ได้รับทุน1 – 7 กรกฎาคม 2563
ประกาศผลการสนับสนุน “ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม”7 กรกฎาคม 2563
การจัดทำสัญญารับทุน8 – 15 กรกฎาคม 2563

 หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของประเทศและ COVID-19

ทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม

ลักษณะทุน: ทุนสำหรับผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน สำหรับพัฒนาผลงานนวัตกรรม1 เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากิจการของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งมีการร่วมสมทบทุนของผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการที่ได้รับทุน โดยมีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) ที่เป็นอาจารย์ นักวิชาการให้คำปรึกษา เพื่อลดอัตราความล้มเหลวในการจัดตั้งธุรกิจ

คุณสมบัติผู้ขอรับทุน: เป็นผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน/กิจการเพื่อสังคมที่เป็นนิติบุคคล และมีตำแหน่งในโครงการที่ขอรับทุนเป็น “หัวหน้าโครงการ” ที่ต้องการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม1 เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนากิจการธุรกิจของตนเองและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมีพี่เลี้ยง(Mentor) ตำแหน่งในโครงการเป็น “ที่ปรึกษา” ให้คำแนะนำในโครงการไม่น้อยกว่า 1 คน ทั้งนี้หากสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ระยะเวลาดำเนินงาน: ผู้ที่ได้รับทุนต้องดำเนินงานโครงการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 4 เดือน หลังลงนามสัญญาตั้งแต่ 15 กรกฎาคม – 15 พฤศจิกายน 2563

งบประมาณ:  สนับสนุนทุนละไม่เกิน 300,000 บาท (สามแสนบาท)2  ซึ่งโครงการที่ได้รับทุนสามารถตั้งงบประมาณในส่วนของค่าตอบแทนพี่เลี้ยง3 (ที่ปรึกษาโครงการ) ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก SID-N1

       โดยหน่วย SID-N1 มีงบประมาณรวมจำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) โดยจำนวนทุนที่สนับสนุนขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละโครงการเสนอขอรับทุน

การเบิกจ่าย: งบประมาณโครงการแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ได้แก่

 งวดที่ 1    จำนวน 30 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 90,000 บาท/โครงการซึ่งโครงการที่ได้รับทุนจะได้รับก็ต่อเมื่อลงนามในสัญญารับทุนแล้ว ภายใน 15 วัน

 งวดที่ 2    จำนวน 50 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 150,000 บาท/โครงการ ซึ่งโครงการที่ได้รับทุนจะได้รับก็ต่อเมื่อส่งรายงานความก้าวหน้าและคณะกรรมการตรวจรับรายงานแล้ว

งวดที่ 3   จำนวน 20 % ของงบประมาณที่ SID-N1 สนับสนุน ซึ่งไม่เกิน 60,000 บาท/โครงการ เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนครบถ้วน และส่งรายงานผลการดำเนินงานโครงการ หลักฐานการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม และคณะกรรมการตรวจรับรายงานแล้ว

เงื่อนไขการรับทุน :

  1. ผู้รับทุนต้องสร้างหรือพัฒนาผลงานนวัตกรรม1เพื่อสังคมในพื้นที่จำนวนอย่างน้อย 1 นวัตกรรม
  2. ผู้รับทุนควรให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา หรือกิจกรรมอื่นใดที่ทางผู้ให้ทุน SID-N1 จัดขึ้น
  3. ผู้รับทุนต้องปิดโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ตามสัญญารับทุน) ประกอบด้วย รายงานผลการดำเนินงานโครงการ และหลักฐานการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม อาทิเช่น VTR/VDO อธิบายผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากโครงการที่ได้รับทุน หรือภาพถ่ายต่างๆ เป็นต้น

การประเมินข้อเสนอโครงการ

การประเมินข้อเสนอโครงการเพื่อจัดสรรทุน เป็นการศึกษารายละเอียดของข้อเสนอโครงการ รูปแบบลักษณะของกิจการ/ธุรกิจ เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ใช้ในโครงการ รวมถึงประวัติการทำงาน ผลงานของหัวหน้าโครงการ เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ทั้งในด้านวิชาการ และผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมพิจารณาและมีหลักเกณฑ์การสนับสนุนและแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการ เงื่อนไขการสนับสนุนตามแนวทางโครงการ “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 ใน 6 ประเด็นหลัก ดังนี้

ประเด็นหลักคำอธิบายหลักเกณฑ์/เงื่อนไข การสนับสนุน
1.พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมเข้าไปขับเคลื่อนในชุมชน + ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าหรือมูลค่า(ขายได้ในตลาดที่สูงขึ้น มีราคาสูงขึ้น)– สนับสนุนค่าวัสดุจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ /   บรรจุภัณฑ์ – ค่าวิเคราะห์ทดสอบ ค่าทดสอบตลาด – ค่าถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ  – มีการกำหนดตลาดและวางแผนการผลิตที่ชัดเจน
2. พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์– มี marketing research หรือได้มาตรฐานแล้ว – ระบุผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจน – มีบรรจุภัณฑ์หรือฉลากเดิม ต้องให้เหตุผลในการขอรับการพัฒนา – ควรมีประเด็นทางด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมเข้าไปช่วยด้วย– ไม่ให้เครื่องจักรทำบรรจุภัณฑ์/เครื่องบรรจุ
เครื่องปิดผนึก – สนับสนุนค่าคำปรึกษา ให้ความรู้ความเช้าใจในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ค่าออกแบบและต้นแบบ ต้องมีรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด ค่าออกแบบไม่เกิน 3 รูปแบบ และผู้ประกอบการเลือก 1 รูปแบบเพื่อนำไปผลิตต่อ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดทำตามต้นแบบที่เลือก จำนวนไม่เกิน  50 – 100 ชิ้น
3.พัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตแสดงกระบวนการผลิตเดิม (Flow Chart) วินิจฉัยจุดที่มีปัญหาและนำเสนอแนวทางนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา  ให้การสนับสนุนในเรื่อง – การให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ การฝึกอบรม – การวิเคราะห์ ทดสอบ – วัสดุเพื่อการปรับปรุงบางส่วน
4.มาตรฐาน (พัฒนาสินค้าเข้าสู่มาตรฐานโดยที่สินค้าชนิดนั้นๆไม่เคยมีผู้ขอมาตรฐานได้มาก่อน – นวัตกรรม)ระบุผลิตภัณฑ์และมาตรฐานที่ต้องการพัฒนาให้ชัดเจน อาทิ primary GMP อย./มผช./ฮาลาล การยกระดับดาว ให้ข้อมูลศักยภาพและความพร้อมเดิมให้การสนับสนุนได้ในเรื่อง – ความรู้ ค่าที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ การฝึกอบรม   ค่าการวิเคราะห์ ทดสอบ – ไม่ให้การสนับสนุน ค่าปรับปรุงโรงเรือน / ภาชนะ/เครื่องจักร/ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอฯ
5.พัฒนานวัตกรรมคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ  พัฒนาวัตถุดิบที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือแปรรูป เช่น การย้อมเส้นไหม ฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ความปลอดภัย ลดสารพิษ ยาฆ่าแมลง เช่น เครื่องล้าง การทดสอบวัตถุดิบ เป็นต้น เป็นวัตถุดิบที่สามารถระบุแหล่งผลิตได้– ไม่สนับสนุนการพัฒนา primary agriculture  เช่น การปลูกมะม่วงรสชาติอร่อย – สนับสนุนในเรื่องการให้คำปรึกษา การให้ความรู้ – ค่าวิเคราะห์ ทดสอบ
6. พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบจาก COVID-19อนึ่ง ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากไวรัส COVID-19 ทำให้หลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญร่วมกันให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอโครงการของ SID-N1 จะขอพิจารณาข้อเสนอโครงการที่มีส่วนช่วยเหลือสังคมในการ “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มประชากรที่เปราะบาง เช่น กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ เป็นลำดับแรกหลักเกณฑ์/เงื่อนไข การสนับสนุนตามประเด็นหลักของข้อ 1- 5

หมายเหตุ: ในกรอบ 6 ประเด็นหลักนี้เป็นหลักเกณฑ์การสนับสนุนและแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการเท่านั้น ซึ่งผู้ขอรับทุนสามารถยื่นเสนอข้อเสนอโครงการนอกเหนือจาก 6 ประเด็นนี้ได้ ทั้งนี้คณะกรรมการจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญต่อไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม:
นายสกลวัฒน์  เศวตรัตนกุล
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1
ที่ตั้ง: วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่: 180 หมู่ที่ 7 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ 091-0691189 มือถือ 081-3867733
Facebook: facebook.com/SIDCMRU (SID-CMRUหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม)
Website: www.adicet.cmru.ac.th/SID
Line: @SIDCMRU

ankara escort çankaya escort ankara escort çankaya escort escort ankara çankaya escort escort bayan çankaya istanbul rus escort eryaman escort escort bayan ankara ankara escort kızılay escort istanbul escort ankara escort ankara rus escort escort çankaya ankara escort bayan istanbul rus Escort atasehir Escort beylikduzu Escort Ankara Escort malatya Escort kuşadası Escort gaziantep Escort izmir Escort