SID-CMRU SOCIAL INNOVATION

เวทีการนำเสนอผลงานและถอดบทเรียนการสนับสนุนทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1

เปิดอ่าน 771 views

ในวันที่ 23 พ.ย.2563 หน่วย SID-N1 ได้จัดกิจกรรม “เวทีการนำเสนอผลงานและถอดบทเรียนการสนับสนุนทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1” ขึ้น ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ฮ่องสอนรีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้รับเกียรติจาก ท่านชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมในครั้งนี้

            โดยมีอาจารย์ วินัย ไชยวงค์ญาติ คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนให้เกียรติกล่าวต้อนรับในนามมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (มรภ.ชม) และอาจารย์ ดร.วรจิตต์  เศรษฐพรรค์ คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มรภ.ชม. และในนามหัวหน้าหน่วย SID-N1 กล่าวรายงานและสรุปผลภาพรวมการดำเนินงานหน่วย SID-N1 ต่อประธานในพิธีเปิดงาน

            ในกิจกรรมครั้งนี้ยังได้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง Social Innovation Insights & Breeding New Gen: แนวโน้มทิศทางการขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมควบคู่กับการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ โดย ดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมที่มาจากองค์ความรู้ (knowledge & knowhow) บวกกับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และนวัตกรรมนั้นต้องสร้างประโยชน์ สร้างคุณค่า (Value) ให้กับสังคมได้ด้วย อีกทั้งนวัตกรรมก็ควรจะส่งต่อคนรุ่นใหม่ให้สืบทอดและคงคุณค่าต่อไป  

            หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมการนำเสนอผลงานของผู้ที่ได้รับทุน SID-N1 ประจำปี 2563 จำนวน 11 ผลงาน ที่มาจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 6 ผลงาน จังหวัดตาก 4 ผลงานและจังหวัดลำพูน 1 ผลงาน โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาตัดสินคะแนน ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลมีรายนามดังต่อไปนี้

  • รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ระดับดีเยี่ยม ได้แก่ผลงาน “แพลตฟอร์ม SUPER APP MAE HONG SON GUIDE: แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซช่วยสินค้าท้องถิ่น (หลังวิกฤติโควิด)” จาก บริษัท ริง ปาย พอเพียง จำกัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ฃรางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ระดับดี ได้แก่ผลงาน “‘ฟังชัด’ : แอพพลิเคชั่นช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ” จาก บจก.พลัส สตรอง จำกัด จังหวัดลำพูน
  • รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม รางวัลชมเชย ได้แก่ผลงาน “แผ่นไม้เทียมจากแกนกัญชง” จาก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปพืชเกษตรพบพระ จังหวัดตาก
  • รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ประเภท Popular Award ได้แก่ผลงานครีมตะไคร้ภูเขา สปานาโน จาก ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรระดับชุมชนที่ 5 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • รางวัลนวัตกร ประเภท Popular Vote ได้แก่ คุณแววตา สุริยะ จากวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองนกปีกกา จังหวัดตาก ชื่อผลงาน “นกปีกกา : นวัตกรรมเครื่องทอเสื่อกกชุมชนหนองนกปีกกา”
  • รางวัลการนำเสนอผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมยอดเยี่ยม ได้แก่ผลงาน “ผ้าเขียนเทียนสีธรรมชาติอัตลักษณ์วิถีเผ่าม้ง” จากวิสาหกิจชุมชนบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีส่วนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์ COVID-19 ยอดเยี่ยม ได้แก่ผลงาน “Eco life: ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก” จาก วิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายบ้านทบศอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • รางวัลนวัตกรยอดเยี่ยม ได้แก่ ดร.ชยุต จิตธำรงสุนทร จากวิสาหกิจชุมชนบ้านบนดอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อผลงาน “ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากถั่วเหลืองหมักด้วยจุลินทรีย์บริสุทธิ์”

และกิจกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ก็คือ “เสวนาเพื่อถอดบทเรียนการจัดตั้งหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 (SID-N1) และแนวทางการขับเคลื่อนเชิงต่อยอดอย่างยั่งยืน” โดยในเวทีเสวนานี้มีผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายหน่วยงานด้วยกัน อาทิเช่น คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม และดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), คุณชนเขต บุญญขันธ์ ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน, คุณภานุเดช ไชยสกูล ประธานสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน, ผู้แทนจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนคณาจารย์ นักวิชาการจากหลากหลายสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนทุน SID-N1 ประจำปี 2563 โดยมีประเด็นพูดคุยที่น่าสนใจและเป็นคำถามให้ผู้ประกอบการได้เป็นโจทย์คิดต่อในการพัฒนาผลงานนวัตกรรม อาทิเช่น

  • มุมมองการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ดี ต้องชัดว่าจะทำอะไร ตอบโจทย์แก้ปัญหาหรือพัฒนาตรงไหน เป็นประโยชน์อย่างไร, นวัตกรรมนั้นไปสร้างงาน สร้างอาชีพให้สังคมได้อย่างไร, สร้างมูลค่าให้ภูมิปัญญา สินค้าอย่างไร และเกิดความยั่งยืนอย่างไร
  • นวัตกรรมที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ มีสินค้าที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ประเด็นที่ควรจะคิดต่อก็คือ การตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นอย่างไร, Connect ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ผลิตอย่างไร ระบบ Logistic เป็นอย่างไรหากผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล, การสร้างมาตรฐานให้กับสินค้า และจะพัฒนาให้เกิด Impact เชิงพาณิชย์ได้อย่างไร
  • การสร้างเครือข่าย Connection ของผู้ประกอบการและกลุ่มของที่ปรึกษา (พี่เลี้ยง) เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างโอกาสและช่องทางในแจ้งกระจายข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจที่เกื้อหนุนกัน พัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและที่ปรึกษาด้วยกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความเข้มแข็งทางธุรกิจได้

และสุดท้ายนี้ คณะผู้จัดงานหน่วย SID-N1 ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นในภาคเหนือ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หน่วย SID-N1 ของเราจะเป็นหน่วยที่มีส่วนในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน สังคมมากขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ต่อเติมให้เกิดความมั่นคง ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศสืบไป แล้วเตรียมพบกับ SID-N1#2 ที่นี่ เร็วๆนี้….

ankara escort çankaya escort ankara escort çankaya escort escort ankara çankaya escort escort bayan çankaya istanbul rus escort eryaman escort escort bayan ankara ankara escort kızılay escort istanbul escort ankara escort ankara rus escort escort çankaya ankara escort bayan istanbul rus Escort atasehir Escort beylikduzu Escort Ankara Escort malatya Escort kuşadası Escort gaziantep Escort izmir Escort