คำถามที่พบบ่อย
[su_accordion][su_spoiler title=”Q: ติดต่อสอบถามรายละเอียดทุนผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมเพิ่มเติมได้ช่องทางไหนบ้าง” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: สามารถติดต่อสอบถามกับหน่วย SID-N1 ได้ 5 ช่องทาง ได้แก่
1. ทางเว็บไซต์ www.adicet.cmru.ac.th/SID/
2. ทางFacebook: facebook.com/SIDCMRU
3. ทาง Line official: @SIDCMRU
4. ทางโทรศัพท์: 081-3867733
5. เดินทางมาติดต่อสอบถามได้ที่: หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 (SID-N1) ที่ตั้ง วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม เลขที่ 180 หมู่ 7 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: รูปแบบการสมทบทุน 10% อย่างไร” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: ผู้รับทุนสามารถสมทบทุนได้ 2 รูปแบบ คือ สมทบเป็นเงินสด (in-cash) และ/หรือ สมทบเป็นมูลค่า (in-kind) อาทิเช่น วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ที่มีมูลค่าเท่ากับ 10% ขึ้นไป[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: การสมทบทุนไม่น้อยกว่า 10% ของผู้รับทุนนี้ รวมอยู่ในยอดเงินทั้งหมด 300,000 บาท/ทุน หรือไม่” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: SID-N1 สนับสนุนทุน ไม่เกิน 300,000 บาท/ผลงาน(โครงการ) ซึ่งไม่รวมกับที่ผู้รับทุนสมทบ 10% ขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการ A ได้รับทุนจาก SID-N1 จำนวน 300,000 บาท และผู้รับทุนได้ร่วมสมทบทุน (10%) จำนวน 30,000 บาท ดังนั้น โครงการ A จะมีงบประมาณทั้งหมด จำนวน 330,000 บาท เป็นต้น[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: ค่าตอบแทนที่ปรึกษาโครงการต่อโครงการเท่าไร” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: ค่าตอบแทนที่ปรึกษาโครงการ (พี่เลี้ยง) ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก SID-N1 ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างหัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการและที่ปรึกษาโครงการ (พี่เลี้ยง) ถึงจำนวนค่าตอบแทน วิธีการจ่ายค่าตอบแทน และระยะเวลาที่จ่ายค่าตอบแทนให้ชัดเจน
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: สามารถปรับเปลี่ยนชื่อผลงาน (โครงการ) จากเดิมที่ส่งแนวคิดผลงาน (Concept idea) มาได้หรือไม่” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: สามารถปรับปรุงชื่อผลงาน (ชื่อโครงการ) ที่เสนอขอรับทุนได้ให้ชัดเจน เข้าใจง่าย สื่อว่าทำนวัตกรรมอะไร ซึ่งชื่อผลงานที่จะปรับใหม่ต้องใกล้เคียงกับเรื่อง ผลงานที่ได้ส่งแนวคิดผลงาน (Concept idea) มาแล้ว (เรื่องที่จะทำในข้อเสนอผลงานฉบับเต็ม Full proposal กับแนวคิดผลงาน Concept idea ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน แต่สามารถปรับเพิ่มเติมรายละเอียดเนื้อหาวิธีการต่างๆให้ชัดเจนขึ้นได้)[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: ผลงานที่เสนอขอรับทุนต้องเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19 ด้วยหรือไม่” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: ไม่จำเป็นต้องทำเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19 แต่ผลงานที่ทำไปมีส่วนป้องกัน ลดความเสี่ยง และฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: เกณฑ์การประเมินผลงานนวัตกรรม Full proposal อย่างไรบ้าง” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: SID-N1 มีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการพิจารณาผลงานนวัตกรรม Full proposal ทั้งหมด 7 ท่าน ในการพิจารณาตัดสินการสนับสนุนทุน ซึ่งมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน (Criteria) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 เกณฑ์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ วิธีการ และการดำเนินการสู่ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปฎิบัติ ใช้งานได้จริงผลงานนวัตกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ประกอบด้วย
1.1 ชื่อผลงาน
1.2 ข้อมูลสถานประกอบการ
1.3 พื้นที่ดำเนินงาน
1.4 หลักการและเหตุผล
1.5 วัตถุประสงค์
1.6 ความพร้อมในการดำเนินงาน
1.7 นวัตกรรมที่ใช้ในผลงาน
ส่วนที่ 2 เกณฑ์ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วย
2.1 ผลการดำเนินงานและผลกระทบต่อชุมชน ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อธุรกิจ/เศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้ประโยชน์จากผลงาน
2.2 มีแผนการดำเนินงาน และงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานมีความเหมาะสม การร่วมสมทบทุนของผู้ขอรับทุน
2.3 แสดงตัวชี้วัดความสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการชัดเจน และมีผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และแสดงถึงความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
2.4 ความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการดำเนินผลงาน (มีแนวทาง มีแผนการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การต่อยอดหรือยั่งยืน)
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาโครงการ (พี่เลี้ยง) หรือไม่ ไม่มีพี่เลี้ยงได้หรือไม่” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””] A: เป็นข้อบังคับว่าทุกผลงานที่ขอรับการทุนต้องมีพี่เลี้ยง (ที่ปรึกษาโครงการ) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งพี่เลี้ยงจะมีประสบการณ์และความรู้ในทางวิชาการที่สามารถให้คำปรึกษากับผู้รับทุนในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสี่ยงและความล้มเหลวในการดำเนินงานระยะเริ่มต้น[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: ข้อเสนอผลงานนวัตกรรม Full proposal สามารถเปลี่ยนที่ปรึกษาโครงการ (พี่เลี้ยง) ได้หรือไม่ จากแนวคิดผลงาน Concept idea ที่สมัครเข้ามา” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: สามารถเปลี่ยนชื่อที่ปรึกษา (พี่เลี้ยง) ได้ เพราะยังอยู่ในช่วงขั้นตอนการยื่นข้อเสนอผลงานเพื่อขอรับทุน[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: หลักฐานการเคลียร์เงิน อย่างไร” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]A: ผู้รับทุนต้องจัดส่งหลักฐานการเงินให้กับ SID-N1 ดังนี้
1. งบประมาณจาก SID-N1: ผู้รับทุนต้องส่งใบเสร็จ/ใบสำคัญรับเงินฉบับจริง จำนวน 1 ใบ/งวดเงิน 1 ครั้งให้กับ SID-N1 หลังจากได้รับเงินภายใน 15 วัน
2. งบประมาณจากผู้รับทุน: ผู้รับทุนต้องส่งสำเนาใบเสร็จซื้อของ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าได้สมทบทุน 10% ไม่เกินภายในวันที่ 15 พ.ย.63
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”Q: หลังเสร็จสิ้นโครงการ ผลงานจะเป็นของใคร” open=”no” style=”default” icon=”plus” anchor=”” class=””]: ผลงานเป็นของผู้รับทุน (ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจ/กิจการเพื่อสังคม)[/su_spoiler][/su_accordion]