วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) จัดการฝึกอบรม Third Country Training Programme (TCTP) on Energy Resilience Assessment:Towards Climate Adaptable Energy Systems ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ThailandInternational Cooperation Agency (TICA) และ Japan International Cooperation Agency(JICA)

รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรม Third Country Training Programme (TCTP) on Energy Resilience Assessment:Towards Climate Adaptable Energy Systems ในระหว่างวันที่ 19 – 23 ก.พ. 2567 ณ ห้องประชุมเอื้องคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี Mr. SUZUKI Kazuya, Chief Representative of Japan International Cooperation Agency คุณพัชรา โกศินานนท์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านทุน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ ดร.นุวงศ์ ชลคุป ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำหน่วยงานหลัก ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) เป็นตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเครือข่ายจัดการฝึกอบรม ร่วมกล่าวเปิดงานและให้นโยบาย แนวทางในการจัดโครงการฝึกอบรม และมีผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา คณบดี adiCET ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมพิธีการเปิดการอบรมและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 17 คน จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ติมอร์เลสเต

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แนวคิดด้านพลังงานกลายเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมให้เกิดการประเมินการคืนสภาพทางพลังงาน(Energy Resilience) ในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มประเทศ CLMV เพื่อยกระดับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเป้าหมายที่ 7 (Goal 7: Affordable and clean energy)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความก้าวหน้าทางสังคม มีความภูมิใจที่ได้มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือครั้งนี้การตระหนักถึงความสำคัญของ Energy Resilience ซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มของ ENTEC ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งได้ร่วมมือกับ adiCET ในการเริ่มต้นดำเนินโครงการประเมินการคืนสภาพทางพลังงาน (Energy Resilience) โดยได้ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษา และได้ขยายผลการศึกษาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาซึ่งแนวทางและนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับประเทศ และระดับภูมิภาคต่อไป

[su_custom_gallery source=”media: 4964,4965,4966,4967,4968,4969,4970,4971,4972,4973,4974,4975,4976,4977,4978,4979,4980,4981″ limit=”15″ width=”270″ height=”190″ class=”javascript:void(0);”]

 

Blog Attachment
test